วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Verb to do

Verb to  do
Do  และ  Does  มีหลักการใช้คือ  ถ้าเป็นกริยาสำคัญหรือกริยาแท้ในประโยคจะมีความหมายว่า  ทำ           ต้องแยกใช้ไปตามประธานของประโยคให้ถูก  เช่น                           He  does  his  homework.
                          They  do  their  homework
.
เป็นกริยาช่วยในประโยคคำถามและปฏิเสธที่มีกริยาแท้อยู่แล้วในประโยค และประโยคนั้นไม่มี Verb to be
     (  is   am  are  ) .
ในบริบทของประโยคเช่นนี้  do , does จะไม่มีความหมาย  เป็นเพียงตัวช่วย  เช่น
            He  does  not   have  any  sisters.
            We  do   not  buy  a  big  car.
       Remark : Verb  to  be  ไม่อยู่  เอา  Verb  to  do  เข้ามาช่วย
                        do  not  ใช้รูปย่อเป็น    don’t  / does  not    ใช้รูปย่อเป็น    doesn’t
                        
                 
แยกใช้ไปตามประธานของประโยคดังนี้
            1.  ประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่  3  (  He , She , It  ชื่อคนคนเดียว สัตว์ตัวเดียว และสิ่งของอันเดียว                 ที่ถูกกล่าวถึง ) ใช้ Does.
            2.  ประธานเป็นไม่ใช่เอกพจ  น์บุรุษที่  3  (  I , You  , We , They   ชื่อคนหลายคน  สัตว์หลายตัว                   สิ่งของหลายอย่างที่ถูกกล่าวถึง ) ใช้  Do


แยกใช้ตามตารางต่อไปนี้
I




do




it
You
We
They
Dang  and Dum
The  cats
Three  balls
He



does



it
She
It
Sam
A  dog
A man

 การใช้  Verb  to  do  ในประโยคปฏิเสธ
มีหลักการดังนี้
            1.  Verb to  do  เป็นเพียงกริยาช่วย  ( Helping  Verb ) ไม่ใช่กริยาแท้
            2.  กริยาแท้ของประโยคต้องใช้รูปเดิม  ( Base  form ) จะไม่มีการเติมหรือเปลี่ยนไปเป็นช่องใดทั้งสิ้น นะครับ
            ประโยคบอกเล่า          He  likes  cartoon.
            ประโยคปฏิเสธ            He  doesn’t  like  cartoon.
            ประโยคบอกเล่า          They  play  football.
            ประโยคปฏิเสธ            They  don’t  play  football.
 

การใช้  Verb  to  do  ในประโยคคำถาม  มีดังนี้
             1.  Yes / No  Questions
            1.  ใช้  Verb  to  do  วางหน้าประโยค  ตามด้วยประธานของประโยคและกริยาแท้ของประโยควางเรียง         ต่อมา  ตัวอย่างเช่น
กริยาแท้ใช้  Base  form  ( รูปเดิมที่ไม่ต้องเติมหรือผัน )
            ประโยคบอกเล่า          He  likes  cartoon.
            ประโยคคำถาม            Does  he  like  cartoon ?
            ประโยคบอกเล่า          They  play  football.
            ประโยคคำถาม            Do  they  play  football. ?
            2.  Wh. Questions
1.  ใช้  Verb  to  do  วางข้างหลัง Wh. และหน้าประธานของประโยค  ตามด้วย 
      กริยาแท้ของประโยควางเรียงต่อมา  ตัวอย่างเช่น
            ประโยคคำถาม            What  does   he  want  ?
            ประโยคคำตอบ           He  wants  a  pen.
            ประโยคคำถาม            When  do  you  have  lunch ?
            ประโยคคำตอบ           I  have  lunch  at  12.00.
อ้างอิงจาก    http://tc.mengrai.ac.th/pranom/verb_to__do.htm

Active and Passive Voice

Active  and  Passive  Voice
Active Voice คือ ประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำกริยา เช่น
John eats bread. (John ทานขนมปัง)
ประธานของประโยคนี้ คือ John ซึ่งเป็นผู้กระทำกริยา eats
 Passive Voice คือ ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำด้วยกริยา เช่น
Bread is eaten by John. (ขนมปังถูกทานโดย John)
ประธานของประโยคนี้ คือ Bread ซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำกริยา eats โดย John
เราจะใช้ประโยค Passive Voice แทน Active Voice
เมื่อเราต้องการ เน้นผู้ถูกกระทำหรือเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ไม่ทราบว่าผู้กระทำเป็นผู้ใด เช่น
เมื่อปากกาเราถูกขโมย เรามักจะพูดว่า
My pen was stolen. (ปากกาของฉันถูกขโมยไปแล้ว)
เราไม่นิยมพูดว่า A thief stole my pen. (ขโมยได้ขโมยปากกาของฉันไปแล้ว)
หลักในการเปลี่ยนประโยค Active Voice เป็น Passive Voice
1. นำกรรมของประโยค Active Voice มาเป็นประธานของประโยค Passive Voice เช่น
Active Voice : John eats bread.
=> Passive Voice : Bread is eaten by John.
2. เปลี่ยนคำกริยาของประโยค Active Voice เป็นช่องที่ 3 และจะต้องมี Verb to be อยู่หน้าคำกริยานั้นเสมอ
(จะใช้ Verb to be ตัวใด ขึ้นอยู่กับประธานของประโยค Passive Voice
และ Tense ของคำกริยาตัวเดิมใน Active Voice) เช่น
Active Voice : John eats bread.
=> Passive Voice : Bread is eaten by John.
*** ใช้ is eaten เพราะประธานของ Passive Voice เป็นนามนับไม่ได้ และคำกริยาของ Active Voice เป็นช่อง 1 (eats)
3. นำประธานของประโยค Active Voice ไปเป็นกรรมของประโยค Passive Voice โดยมีคำว่า by นำหน้า เช่น
Active Voice : John eats bread.
=> Passive Voice : Bread is eaten by John.
** ถ้าประธานของประโยค Active Voice เป็นคำสรรพนาม (Pronouns)
เมื่อเปลี่ยนไปเป็นกรรมของประโยค Passive Voice
จะต้องเปลี่ยนรูปเป็นกรรมตามไปด้วย เช่น
Active Voice : He ate bread.
=> Passive Voice : Bread was eaten by him.
การเขียนประโยค Passive Voice
ให้คำนึงถึง คำกริยาในประโยค Active Voice ใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ถ้าในประโยค Active Voice มี คำกริยาช่วยกับคำกริยาแท้
เมื่อเขียนเป็นประโยค Passive Voice ส่วนที่เป็นกริยาจะประกอบด้วย
คำกริยาช่วย + be + คำกริยาช่องที่ 3
เช่น
Active Voice : Jenny can drive a car.
=> Passive Voice : A car can be driven by Jenny.
Active Voice : He will drink coffee.
=> Passive Voice : Coffee will be drunk by him.
Active Voice : She has to speak English. (has to หรือ have to มีความหมายว่า "จำเป็นต้อง")
=> Passive Voice : English has to be spoken by her.
Active Voice : Mark ought to do homework this evening.
(ought to มีความหมายว่า "ควร/ควรจะ")
=> Passive Voice : Homework ought to be done by Mark this evening.
2. ถ้าในประโยค Active Voice มี เฉพาะคำกริยาแท้ ไม่มีคำกริยาช่วย
เมื่อเขียนเป็นประโยค Passive Voice ส่วนที่เป็นกริยาจะประกอบด้วย
Verb to be + คำกริยาช่องที่ 3
โดยส่วนที่เป็น Verb to be นั้น
จะเปลี่ยนรูปไปตามคำกริยาแท้ในประโยค Active Voice
เช่น
Active Voice : Jenny ate rice.
=> Passive Voice : Rice was eaten by Jenny.
(Verb to be ใช้ was เพราะคำกริยาใน Active Voice เป็นช่องที่ 2 = ate
และประธานของประโยค Passive Voice เป็นนามนับไม่ได้ = Rice)
Active Voice : Mark does homework everyday.
=> Passive Voice : Homework is done by Mark everyday.
(Verb to be ใช้ is เพราะคำกริยาใน Active Voice เป็นช่องที่ 1 = does
และประธานของประโยค Passive Voice เป็นนามนับไม่ได้ = Homework)
Active Voice : She is making a doll.
=> Passive Voice : A doll is being made by her.
(Verb to be ใช้ is being
เพราะคำกริยาใน Active Voice เป็นรูปปัจจุบันกำลังกระทำ = is making
และประธานของประโยค Passive Voice เป็นเอกพจน์บุรุษที่ 3 = A doll)
Active Voice : He was making dolls.
=> Passive Voice : Dolls were being made by him.
(Verb to be ใช้ were being
เพราะคำกริยาใน Active Voice เป็นรูปอดีตกำลังกระทำ = was making
และประธานของประโยค Passive Voice เป็นพหูพจน์บุรุษที่ 3 = Dolls
อ้างอิงจาก  http://blog.eduzones.com/reno/3199

Modal Verbs

Modals  Verbs               
Modals of deduction เป็นกริยาช่วยซึ่งนำมาใช้ร่วมกับคำกริยาหลัก
และต้อง  คำนึงถึงสถานการณ์ด้วย เพราะคำกริยาเหล่านี้จะความหมาย
ตามแต่สถานการณ์ที่ใช้    
  1.   Can , Could   
Can แปลว่า สามารถ มีความหมายเหมือนกับ  ‘to be able to’
และอาจใช้แทนกันได้                                                
-   I can speak French.   หรือ   I am able to speak French.          
ข้อควรจำ  
1.       Can ไม่มีรูปเป็น Perfect  หรือ Future Simple Tense ดั
งนั้นถ้าจะใช้ canในรูป Tense ดังกล่าวจะต้องเปลี่ยนมาใช้รูป ‘to be able to’  
2.      ใน Past Simple Tense นิยมใช้  ‘to be able to’ แทน  I could 
เพราะ   I could  อาจมีความหมายเป็น Present หรือ Future ก็ได้  
3.       แม้ can ไม่มีรูป Future ก็ตาม แต่สามารถใช้ ในความหมายที่เป็น
Future ได้ โดยมากมักมี Adverb of Time กำกับไว้ด้วย    
 
วิธีการใช้  Can                       
1.       ใช้แสดงความสามารถ” ( Ability )หรืออาจจะใช้ในรูปปฏิเสธ        
-     I can drive a car.         
-    She can type 60 words per minutes.        
-     I can’t drive a car.         
-    She can’t  type 60 words per minutes.  
2.    ใช้แสดงการขออนุญาต”  และการอนุญาต”  ( Permission )         
-    Can I enter the room?         
-   Yes, you can.  
3.     ใช้แสดงการคาดคะเนซึ่งอาจจะเป็นไปได้ ( Possibility )         
-   She can finish her work by tomorrow.    
วิธีการใช้  Could                        
1.   ใช้เป็น Past Tense ของ can                                 
-   When I was young , I could run fast.                                 
-   I couldn’t understand your yesterday explanation.                         
2.   Could  ใช้เป็นคำขอร้องที่สุภาพ ซึ่งมีความหมายเป็น  Present Simple                                 
-   Could I borrow your pen?                                 
-   Could you tell me the time to go?                         
3.  Could  + have + past participle ใช้แสดงความสามารถที่ไม่ได้ถูก                              
นำออกมาใช้  คือ ไม่ได้กระทำ นั่นเอง  
-   They could have started working two hours ago.  
-   I could have finished it last year.       
 
2.  May , Might                              
วิธีการใช้  May                  
1.   ใช้แสดงความปรารถนา หรือเป็นการอวยพร                                 
-  May god bless you.                                 
-  May your dream be true                 
2.  ใช้เป็นคำขออนุญาตที่สุภาพ                                         
-  May I open the window?                                 
-  May I go out , sir?                 
3.  ใช้เป็นคำอนุญาต                                 
-  You may have what you want.                                 
-  You may go out now.                 
4.  ใช้แสดงข้อความที่อาจเป็นไปได้  เป็นการคาดคะเน                                 
-  Your wishes may come true.                                 
-  They may receive our news in a day or two.                   
วิธีการใช้  Might                 
1.   ใช้เป็น past ของ may                                 
-  He asked me that he might find the truth.                                 
-  He said that he might come.                 
2.  ใช้ในความหมายที่เป็น present tense เมื่อ                                 
a.  ต้องการแสดงความสุภาพ เช่น                                 
-  Might I open the window ?                                 
b.  ต้องการแสดงข้อความที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต                                  
(แต่โอกาสเกิดขึ้นน้อยกว่าการใช้ may)                                 
-  Your dream may be true.                                     
Þ Your dream might be true.                               
3.    may (might) +  have  +  Verb 3                             
หมายถึง การคาดคะเน เหตุการณ์ที่ค่อนข้างจะไม่มั่นใจว่าได้ปรากฏ                                     
ขึ้นในอดีตหรือไม่  
-  He didn’t telephone me.  He may (might) have forgotten the     
telephone number.  
-  She didn’t come to see me as she told.  She may (might) have         
missed the bus.    
 
3.  Should              
Should  แปลว่าควรใช้ได้กับประธานทุกตัว มีความหมายเป็น
Present  Tense ใช้เป็นคำแนะนำว่า ควรทำหรือไม่ควรทำ                         
-  You should ask your teacher if you don’t understand.                         
-  You should be more careful about what I advise.                         
-  You should not do like that.  รูป Past Tense ของ shall  
ใช้ในประโยค                 
a.  Indirect Speech                 
-  He said to me , “You will go home”.                       
Direct Speech                 
-  He told me that I should go home.                      
Indirect Speech                 
b.  If-Clause                 
-  If I came here in time, I should meet you.                 
-  If I were you ,I should not do that silly thing.     
                   
 4.  Ought to                
การใช้  Ought to ซึ่งแปลว่า  “ควรทำเพราะเป็นหน้าที่ 
และเป็นการแสดงว่าควรจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ  เช่น                         
-  You are a student , you ought to behave politely.                         
-  Work hard and you ought to obey your teacher.                         
-  We have been studying English for many years, we                             
ought to be ableto speak it fluently.             
 
หมายเหตุ  การใช้ Past Tense ของ Should และ Ought to
กับประธานทุกตัว ต้องใช้รูปแบบของคำกริยา ดังนี้    
Should  +  have  + Past Participle      
Ought to  +  have  +  Past Participle     
ซึ่งแสดงว่าเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ได้เกิดขึ้นจริง  เหตุการณ์เกิดขึ้นตรงกันข้ามกับ
ข้อความที่พูด เช่น                 
-  You should have come to the party yesterday.( But you didn’t. )                 
-  You should not have left home last night. ( But you did. )                  
-  We ought to have obeyed  him ; he is ourown teacher. ( But we didn’t )   
                                
Should  not +  have  + Past Participle  
Ought not  to  +  have  +  Past Participle     
มีความหมายว่า ไม่ควรจะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดในอดีต แต่ได้กระทำไปแล้ว เช่น                       
-  The party was boring.  I shouldn’t  have gone there.                              
-  They oughtn’t to have been absent from school yesterday.    
 
5.   Have to , Must               
Has to , Have มีความหมายว่าต้องทำ”  ใช้เมื่อมีเหตุการณ์ภายนอก
บังคับ  ให้เราต้องทำ        เช่น  
-  I have to go now because the train will leave at six.  
-  We have to do our work neatly or we shall not get good marks.    
 
Must                   
ใช้  Must  ได้กับประธานทุกตัว มีความหมายว่าต้องโดยทั่วไปใช้เมื่อเป็นคำสั่ง  
ให้กระทำ  หรือใช้เมื่อมีเหตุการณ์ภายในตัวเรา บังคับให้เราต้องทำ 
และแสดงการคาดคะเน  โดยมีความมั่นใจ ว่าจะต้องเกิดการกระทำ
หรือเหตุการณ์นั้นๆ  เมื่อจะใช้ must ใน  Tense อื่น ต้องใช้   have to แทน                                   
 -  We must leave soon.                                  
-  They will have to return home before sunset.                                 
-  I must go to see the doctor because I feel unwell.                                 
-  You must have some coffee  because you look sleepy.                                 
-  If you don’t tell  him , he must get lost.                                   
 
must  +  have  +   Verb 3                                           
มีความหมาย แสดงการคาดคะเน เหตุการณ์ที่ค่อนข้างจะมั่นใจว่าได้ปรากฏขึ้นในอดีต                                   
- Suda’s light is out.  She must have gone to sleep.                                 
- Somsak got A in every subject.  He must have studied very hard.                                
-  I can’t find my bag.  It must have been stolen when I was on the bus.
อ้างอิงมาจาก    http://srithong2008.exteen.com/20081220/modal-verb